ภารกิจที่ 1 การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ

1. การบริหารระบบการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
                        1.1 สำนักงานฯสาขาจังหวัดมีภารกิจในการรับนโยบายจากสำนักงานหลัก
ประกันสุขภาพแห่งชาติและนำมาจัดทำแผนการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
ที่สอดคล้องกับแนวทางการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
                        1.2 การพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการในภาพรวมของจังหวัด
                2. การจัดทำบัญชีรายการหน่วยบริการ
                        2.1  การบริหารจัดการระบบการจัดทำบัญชีรายการหน่วยบริการของจังหวัดในเขตที่รับผิดชอบ
                        2.2 จัดทำบัญชีรายการหน่วยบริการของจังหวัดส่งให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                3. การประกาศ/ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำตามบัญชี
รายการหน่วยบริการของจังหวัด
                        3.1 การประชาสัมพันธ์และชี้แจงหลักเกณฑ์ / แนวทาง การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการใน
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ให้กับหน่วยบริการทุกประเภทในจังหวัดและรับสมัครหน่วยบริการ
                        3.2 การประกาศ/ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำตามบัญชี
รายการหน่วยบริการของจังหวัด
                4. การตรวจประเมินคุณภาพหน่วยบริการที่ขอขึ้นทะเบียนและการทำข้อตกลง/สัญญา
                    4.1 เป็นคณะกรรมการร่วมตรวจประเมินหน่วยบริการที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการใน
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 
ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง เกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อ
ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ
                    4.2 บันทึกข้อมูลผลการตรวจประเมินหน่วยบริการประจำปี ตามแนวทางท
ี่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
                    4.3 รวบรวมข้อมูลการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการแต่ละประเภท
                    4.4 การให้บริการข้อมูลขึ้นทะเบียนหน่วยบริการแต่ละประเภทแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                5. การควบคุมกำกับคุณภาพหน่วยบริการ
                    5.1 การติดตามและประเมินผลการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการตามข้อตกลง/สัญญา
                    5.2 การติดตามและประเมินผลการควบคุมกำกับคุณภาพหน่วยบริการ
                    5.3 การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการตามเกณฑ์ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

ภารกิจที่ 2 การลงทะเบียนผู้มีสิทธิ
                1. การบริหารระบบการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ
                   1.1 จัดระบบการลงทะเบียนผู้มีสิทธิในจังหวัด โดยการกำหนดจุดรับคำร้องลงทะเบียน
และหน่วยรับลงทะเบียนและออกบัตรภายในจังหวัด
                   1.2 เป็นผู้แต่งตั้งนายทะเบียนให้ปฎิบัติหน้าที่ ณ หน่วยรับลงทะเบียนและออกบัตรในจังหวัด
                   1.3 บริหารข้อมูลประชากรจังหวัด (DBPOP) ที่ได้รับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
เพื่อให้หน่วยรับลงทะเบียน
และออกบัตรใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบสิทธิเบื้องต้น
                   1.4 บริหารระบบสารสนเทศในระบบหลักประกันสุขภาพของจังหวัด
                   1.5 วิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนการดำเนินงานการลงทะเบียนผู้มีสิทธิระดับจังหวัด ให้มีประสิทธิภาพและ
การจัดระบบรายงานการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ
                   1.6 ประชาสัมพันธ์และชี้แจงแนวทางการลงทะเบียนผู้มีสิทธิให้หน่วยบริการและประชาชน
                   1.7 ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามรูปแบบและแนวทางการลงทะเบียนผู้มีสิทธิตามที่กำหนด
                   1.8 พัฒนาและสนับสนุนให้จุดรับคำร้องลงทะเบียนและหน่วยรับลงทะเบียนและออกบัตรภายในจังหวัด
จัดระบบการลงทะเบียนและออกบัตรให้มีประสิทธิภาพ
                2 การตรวจสอบและประเมินผลการลงทะเบียนผู้มีสิทธิระดับจังหวัด
                   2.1 ติดตาม ตรวจสอบ ควบคุมกำกับการลงทะเบียนผู้มีสิทธิที่จุดรับคำร้องลงทะเบียน
และหน่วยรับลงทะเบียนและออกบัตรภายในจังหวัด
                   2.2 ตรวจสอบ ควบคุมกำกับผลความถูกต้อง ความผิดพลาด ความครอบคลุมของผลการ
ลงทะเบียนผู้มีสิทธิภายในจังหวัด
                   2.3 ประเมินผลข้อมูลการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ โดยใช้ฐานข้อมูลประชากรจังหวัด (DBPOP) 
ที่ได้รับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                   2.4 นิเทศติดตามการดำเนินงานของหน่วยลงทะเบียนและออกบัตรภายในจังหวัด
                   2.5 สนับสนุน / แก้ไขปัญหาการขึ้นทะเบียนภายในจังหวัด
                   2.6 จัดทำสถิติและรายงานแยกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการลงทะเบียนบัตรประกันสุขภาพภายในจังหวัด

ภารกิจที่ 3 การส่งเสริมการพัฒนาและควบคุมกำกับคุณภาพหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ
1.             วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพ / วางแผนส่งเสริม ควบคุม กำกับ คุณภาพและมาตรฐานหน่วย
บริการในพื้นที่
 
 
1.1      รวบรวม/วิเคราะห์ข้อมูล คุณภาพหน่วยบริการตามเกณฑ์การขึ้นทะเบียน สถานการณ์การ
พัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด การร้องเรียนด้านคุณภาพการให้บริการ โดยใช้ข้อมูลจาก
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
เพื่อจำแนกกลุ่มหน่วยบริการตามระดับความรุนแรง / ความถี่ของปัญหา /สถานการณ์ เพื่อ
การเฝ้าระวังคุณภาพบริการการวางแผน การพัฒนาและควบคุมกำกับคุณภาพหน่วยบริการของจังหวัด
1.2      การจัดทำแผนงาน/โครงการติดตามควบคุมกำกับการดำเนินงานการส่งเสริมการพัฒนา 
และควบคุมกำกับคุณภาพหน่วยบริการ
และเครือข่ายหน่วยบริการของจังหวัด
2.             การบริหารจัดการเครือข่ายหน่วยบริการด้านคุณภาพและการส่งต่อในพื้นที่  
                     สำนักงานฯ สาขาจังหวัดมีหน้าที่บริหารจัดการเครือข่ายหน่วยบริการด้านคุณภาพ
และการส่งต่อในจังหวัด  เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการประสานงานกับหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียน
เป็นหน่วยบริการในจังหวัด
3.              การควบคุม  กำกับคุณภาพหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ
3.1      รวบรวมข้อมูลด้านคุณภาพหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการของจังหวัด ผลการ
ตรวจเยี่ยมการพัฒนาคุณภาพ  ผลการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพของหน่วยบริการในรอบปี
3.2      การประเมินผลการควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานการประเมินผลทั่วไป โดย
3.2.1   ด้านโครงสร้าง ใช้วิธีสุ่มประเมินตามเกณฑ์โครงสร้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
3.2.2   ด้านกระบวนการ ใช้วิธีการประเมินผลตามตัวชี้วัดด้านคุณภาพตามที่สำนักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด/ ตามมาตรฐานวิชาชีพ/การจัดการบริการ/ระบบบริหารจัดการคุณภาพ
3.2.3                   ด้านผลลัพธ์ ใช้วิธีการประเมินผลตามตัวชี้วัดด้านคุณภาพตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
3.3      รายงานผลการดำเนินงาน/การประเมินผลของจังหวัดส่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
4.             การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานสาขาจังหวัดด้านการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการ
4.1      สำนักงานฯ สาขาจังหวัดมีหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยบริการด้านการพัฒนา
คุณภาพหน่วยบริการ
4.2      การประสานงานการดำเนินงานด้านคุณภาพบริการของหน่วยบริการกับสำนักงานฯ สาขาเขตพื้นท
ี่และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
5.             การรายงานผลการดำเนินงาน
       สำนักงานฯ สาขาจังหวัดมีหน้าที่ในการจัดทำรายงานผลการส่งเสริม ตรวจตราและควบคุม กำกับคุณภาพหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการในเขตพื้นที่  
ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นรายปี

ภารกิจที่ 4 การมีส่วนร่วมของภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน
1.             การกำหนดนโยบาย การมีส่วนร่วม
      สำนักงานฯ สาขาจังหวัดมีหน้าที่รับนโยบายจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
และนำมาใช้ในการจัดทำแผนกลยุทธ์ด้าน มีส่วนร่วมของภาคท้องถิ่นและภาคประชาชนในระดับจังหวัด
ของสำนักงานฯ สาขาจังหวัด
2.              การประสาน  จัดกิจกรรมและทำจัดทำฐานข้อมูลการมีส่วนร่วม
2.1      การเข้าร่วมกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยน/ระดมความคิดเห็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น     สมาคมวิชาชีพและประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม    
ในระบบหลักประกันสุขภาพร่วมกับ              สำนักงานฯ สาขาพื้นที่   หากสำนักงานฯ สาขาจังหวัดมีความพร้อมก็สามารถจัดเวทีแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นในจังหวัดได้
2.2      การประสานความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
สมาคมวิชาชีพ  ประชาชน ในพื้นที่จังหวัด
2.3      การจัดทำฐานข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น , ประชาชนและองค์กรวิชาชีพของจังหวัด
2.4      เข้าร่วมเป็นกรรมการบริหารกองทุนชุมชน
3.             การประชาสัมพันธ์   การสร้างความรู้   ความเข้าใจ
3.1      ดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ข้อมูลและสร้างความรู้  ความเข้าใจ  เกี่ยวกับงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวม
แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  สมาคมวิชาชีพและประชาชน
3.2      ดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ข้อมูลและสร้างความรู้   ความเข้าใจ   เกี่ยวกับนโยบาย  ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติ
แก่หน่วยบริการในจังหวัด
4.             การรายงานและประเมินผล
       สำนักงานฯ สาขาจังหวัด   มีหน้าที่ในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการสร้างการมี              
ส่วนร่วมของภาคท้องถิ่นและ ภาคประชาชนและประเมินผลการดำเนินงานตามที่สำนักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

ภารกิจที่ 5 การคุ้มครองสิทธิ/รับเรื่องร้องเรียน/ประชาสัมพันธ์
1.             การบริหารจัดการระบบ
1.1      การบริหารจัดการให้หน่วยบริการทุกประเภท มีการให้บริการรับและแก้ไขเรื่องร้องเรียน 
และการบริการข้อมูลด้านหลักประกันสุขภาพ
1.2      การสร้างระบบ/กลไกการคุ้มครองสิทธิในพื้นที่ (ระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล) ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ  
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการร้องเรียนของผู้ถูกละเมิดสิทธิ    จากการใช้บริการสาธารณสุข 
(มาตรา 50 (5))
1.3      การประสานงานกับคณะอนุกรรมการฯจังหวัด เพื่อให้การพิจารณาการความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการ
ตามมาตรา 41 และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหาย จากบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข 
ตามหลักเกณฑข้อบังคับของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.4      การจัดจุดรับบริการ (Counter Service)  เป็นช่องทางให้ประชาชนติดต่อสำนักงานฯ สาขาจังหวัด โดยตรงในการรับ
และแก้ไขเรื่องร้องเรียน  กรณีประชาชนร้องเรียนและการให้บริการข้อมูลด้านหลักประกันสุขภาพ
1.5      สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนและจัดตั้งเครือข่ายประชาชน
ระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล
2.             การประชาสัมพันธ์
2.1      การประชาสัมพันธ์ข้อมูล/ข่าวสารเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพและการใช้สิทธิ/สิทธิประโยชน์ให้กับประชาชน
ผู้มีสิทธิในระดับจังหวัด
2.2      การประชาสัมพันธ์ข้อมูล/ข่าวสารของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับหน่วยบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในระดับจังหวัด
3.             การสนับสนุนการพัฒนาระบบและการจัดเวทีประชาพิจารณ์
3.1      การสนับสนุนด้านการฝึกอบรมบุคลากรในหน่วยบริการที่ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองสิทธิ/การรับเรื่องร้องเรียน/
การประชาสัมพันธ์
3.2      การให้คำปรึกษาแก่หน่วยบริการและการแก้ไขปัญหาด้านการคุ้มครองสิทธิ/การรับเรื่องร้องเรียน
3.3      สนับสนุนและเข้าร่วมการจัดเวทีประชาพิจารณ์ที่ดำเนินการโดยสำนักงานฯ สาขาเขตพื้นที่
4.             การประเมินผลการดำเนินงาน
4.1      สำนักงานฯ สาขาจังหวัด มีหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลร้องเรียนด้านการคุ้มครองสิทธิ/
การรับเรื่องร้องเรียนของจังหวัดและจัดระบบการให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feed back)  แก่หน่วยบริการ  
เพื่อการป้องกันปัญหาเดียวกันในอนาคต
4.2      การรายงานผลการดำเนินงานด้านการคุ้มครองสิทธิ/การรับเรื่องร้องเรียนของจังหวัดตาม
ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
 
 ภารกิจที่ 6 การบริหารการเรียกเก็บและเวชระเบียน
1.              การบริหารการชดเชยค่าบริการทางการแพทย์
1.1      สำนักงานฯ สาขาจังหวัด   มีหน้าที่ในการจัดระบบการจัดทำข้อมูลเพื่อขอรับค่าใช้จ่าย           
เพื่อบริการสาธารณสุขที่สอดคล้องตามสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
1.2      บริหารการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้กับหน่วยบริการตามแนวทางและ
หลักเกณฑ์ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
2.              การตรวจสอบและควบคุม  กำกับ
2.1      จัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบเวชระเบียน  ให้มีจำนวนบุคลากรสอดคล้องกับปริมาณงานตามเป้าหมาย
ที่ตั้งไว้ โดยมีองค์ประกอบคือ  แพทย์  พยาบาล  เจ้าหน้าที่เวชสถิติและบุคลากรอื่นๆ ที่มีความสามารถ
ในการตรวจสอบเวชระเบียน
2.2      บริหารจัดการและประสานคณะทำงานตรวจสอบเวชระเบียน  ให้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพการรักษา 
(Clinical Audit) เฉพาะ ได้แก่ โรคเบาหวาน  และ/หรือ  ความดันโลหิตสูง  อย่างน้อย 1 เรื่อง  โดยสุ่มเวชระเบียนเพื่อตรวจสอบ
คุณภาพไม่น้อยกว่า 30 เวชระเบียน/1 เรื่อง
2.3      ควบคุม กำกับ ให้คณะทำงานตรวจสอบเวชระเบียน ดำเนินการตรวจสอบการให้รหัสโรค และหัตถการ  (Coding Audit)
โรงพยาบาลทุกแห่งในความรับผิดชอบของสำนักงานฯ สาขาจังหวัด  ที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  
(ทั้งในสังกัดรัฐบาลและเอกชน) อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง  โดยตรวจสอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 1-5  ของจำนวนเวชระเบียน
ผู้ป่วยในของโรงพยาบาลนั้นๆ  ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 30 เวชระเบียนต่อโรงพยาบาล
2.4      บริหารจัดการและประสานให้คณะทำงานตรวจสอบเวชระเบียนสรุปผลการตรวจสอบ แจ้งให้โรงพยาบาล
ที่รับการตรวจสอบ  สำนักงานฯ สาขาจังหวัด  และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   ทราบภายใน 4 สัปดาห์   
หลังเสร็จสิ้นการตรวจสอบแต่ละครั้ง   (ภายในเดือนมีนาคมและกันยายนของทุกปี)

ภารกิจที่ 7 การบริหารกองทุน/หน่วยบริการคู่สัญญา
1.             การบริหารงบเหมาจ่ายรายหัว
1.การบริหารจัดการระบบ
        1.1การชี้แจงแนวทางการจัดสรรและรายละเอียดข้อมูลการจัดสรรที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุขให้กับ
หน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียน
        1.2 การบริหารงบเหมาจ่ายรายหัว โดยการจัดทำหลักเกณฑ์การจัดสรรโดยอ้างอิงข้อมูลจาก
กระทรวงสาธารณสุขเสนอ คณะอนุกรรมการบริหารงานหลักประกันสุขภาพระดับจังหวัดและจัดสรรเงิน
ตามมติของคณะอนุกรรมการฯ
        1.3 การเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านการเงินการคลังของหน่วยบริการและการสรุปและรายงานผลปัญหา  อุปสรรคของการดำเนินงานบริหารงบเหมาจ่ายรายหัว  
ในระดับจังหวัดต่อผู้บริหารและกระทรวงสาธารณสุข
                        2 การติดตามควบคุมกำกับ
                            สำนักงานฯ สาขาจังหวัดมีหน้าที่ในการนิเทศ / ติดตามการใช้เงินเหมาจ่ายรายหัว
ของหน่วยบริการและการกำกับ/ตรวจสอบ  การใช้งบเหมาจ่ายรายหัวของหน่วยบริการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                 2. การบริหารงบส่งเสริมสุขภาพ
                       1. การบริหารจัดการระบบ
                                1.1 ศึกษาหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินและเงื่อนไขการใช้งบส่งเสริมสุขภาพ  ที่กำหนดจาก
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดสรรเงินให้กับหน่วยบริการ
                                1.2  ชี้แจงหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินและเงื่อนไขการใช้งบส่งเสริมสุขภาพ ที่กำหนดจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้หน่วยบริการในจังหวัด
                                1.3  การบริหารงบส่งเสริมสุขภาพ  ( PP)  ในระดับพื้นที่  โดยการบริหารจัดการให้หน่วยบริการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงการระดับพื้นที่  (Area Project) เพื่อขอใช้งบส่งเสริมสุขภาพตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
                      2. การติดตามควบคุมกำกับ
                            สำนักงานฯ สาขาจังหวัดมีหน้าที่ในการกำกับ / ติดตามการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ของหน่วยบริการและการกำกับ/ตรวจสอบการใช้งบเหมาจ่ายรายหัวของหน่วยบริการ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ภารกิจที่ 8 ภารกิจอื่นๆ
1.             การสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการฯระดับจังหวัด
1.1      จัดประชุมคณะอนุกรรมการฯของจังหวัดตามเงื่อนไขที่กำหนดจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
1.2      การคัดเลือกคณะอนุกรรมการฯของจังหวัดที่ครบวาระตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจากสำนักงานหลัก
ประกันสุขภาพแห่งชาติ
1.3      ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการของคณะอนุกรรมการฯของจังหวัด และนำมติหรือแนวทาง/หลักเกณฑ์จากการ
ประชุมคณะอนุกรรมการฯ  ไปใช้ในการบริหารจัดการตามภารกิจงาน สร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของจังหวัด
1.4      สนับสนุนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯของจังหวัด ในด้านการให้ข้อมูลและการ
ให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาของโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในจังหวัด
1.5      การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของอนุกรรมการฯระดับจังหวัด ทั้ง  3 คณะ โดยรวบรวมสาระสำคัญ
จากสรุป การประชุมของอนุกรรมการฯระดับจังหวัด ส่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามระยะเวลาที่กำหนด
2.             การประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานสาขา
2.1      การปฏิบัติตามภารกิจของสำนักงานฯสาขาจังหวัด ตามคู่มือการติดตามกำกับ การประเมินสำนักงานฯสาขาจังหวัด
ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2.2      การส่งรายงานการประเมินผลการปฏิบัติตามภารกิจของสำนักงานฯสาขาจังหวัด ตามตัวชี้วัดที่สำนักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
3. งานโครงการระบบสารสนเทศศูนย์ประมวลผลกลางงานประกันสุขภาพ สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  (Data Center)
3.1 การบริหารระบบ
        3.1.1 การสำรวจความพร้อมด้านโครงสร้างข่ายคอมพิวเตอร์ของสำนักงานฯสาขาจังหวัดและหน่วยบริการในจังหวัด
        3.1.2 การวางแผน/การพัฒนาระบบการทำงานและการพัฒนาระบบสารสนเทศของสำนักงานฯสาขาจังหวัด
และหน่วยบริการในจังหวัดร่วมกับสำนักงานฯ สาขาเขตพื้นที่ เพื่อรองรับการทำงานโครงการระบบสารสนเทศศูนย
์ประมวลผลกลางงานประกันสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  (Data Center)
        3.1.3 การให้คำปรึกษา/แนะนำแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องของหน่วยบริการ/หน่วยรับลงทะเบียนและออกบัตร 
เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามระบบการทำงานโครงการระบบสารสนเทศศูนย์ประมวลผลกลางงานประกันสุขภาพ 
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Data Center)   ได้อย่าง              มีประสิทธิภาพ
        3.1.4  การสนับสนุนด้านวิชาการให้หน่วยบริการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามระบบทำงานโครงการ
ระบบสารสนเทศศูนย์ประมวลผลกลางงานประกันสุขภาพ  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  (Data Center) 
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        3.1.5 การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้กับหน่วยบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการระบบสารสนเทศศูนย
์ประมวลผลกลางงานประกันสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(Data Center)
3.2 การควบคุม กำกับ และประเมินผล สำนักงานฯสาขาจังหวัดมีหน้าที่ในการควบคุม กำกับ ติดตามและ
ประเมินผลการดำเนินงานตามระบบการทำงานโครงการระบบสารสนเทศศูนย์ประมวลผลกลางงานประกันสุขภาพ 
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Data Center) ตามแนวทางที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
--------------------------------------------------
 
งานประกันสุขภาพ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก
055-518770,055-518130