ภารกิจ


บทบาทสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด


     เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการจังหวัด มีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็น ตัวแทนกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดนั้น ๆ

เป็นผู้บังคับบัญชาดูแลรับผิดชอบ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้รับการนิเทศงาน กำกับดูแลและสนับสนุนทรัพยากร

จากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข(ผ่านทางสำนักตรวจราชการกระทรวง) และกรมวิชาการต่าง ๆ

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของจังหวัด การกำกับ ดูแล

ประเมินผล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน สาธารณสุขในจังหวัด และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน

ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

นอกจากนี้ ยังมีโรงพยาบาลระดับจังหวัด คือ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป (150 – 1000 เตียง) รวมทั้งโรงพยาบาลระดับ

อำเภอ คือ โรงพยาบาลชุมชน (10 – 120 เตียง) ทั้งหมดขึ้นตรงต่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด

 

โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป

     แบ่งงานภายในออกเป็น 5 กลุ่มคือ กลุ่มภารกิจด้านอำนวยการ กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล

กลุ่มภารกิจด้านบริการตติยภูมิ และกลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิและทุติยภูมิ

 

โรงพยาบาลชุมชน

     แบ่งงานภายในออกเป็น 3 กลุ่มภารกิจ คือ กลุ่มภารกิจด้านอำนวยการ กลุ่มภารกิจด้านบริการ และกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล

 

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/กิ่งอำเภอ

     เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อนายอำเภอ มีสาธารณสุขอำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นหัวหน้ามีหน้าที่ทางด้านบริหาร ส่งเสริม สนับสนุน ควบคุม

กำกับ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของสถานีอนามัย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอได้รับการนิเทศงาน และประสานงานจาก

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งจะเป็นผู้สนับสนุนทางวิชาการและบริหาร

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของอำเภอ การกำกับ ดูแล ประเมินผล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของ

หน่วยงานสาธารณสุขในอำเภอ และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

 

สถานีอนามัย

     เป็นหน่วยบริการสาธารณสุขระดับตำบล หรือระดับหมู่บ้าน มีหน้าที่ในการจัดบริการ

สาธารณสุขผสมผสานแก่ประชาชนในชนบท ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยครอบคลุมประชากรประมาณ 1,000 – 5,000 คน มีเจ้า

หน้าที่ปฏิบัติงานประจำ คือ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน (พนักงานอนามัย ผดุงครรภ์และพยาบาลเทคนิค) ซึ่งจบการศึกษาจาก

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร และวิทยาลัยพยาบาลราชชนนี ปัจจุบันเริ่มมีทันตาภิบาล พยาบาลวิชาชีพ และนักวิชาการสาธารณสุข

บรรจุเข้าทำงานในระดับสถานีอนามัยด้วย